การจำแนกชนิดเตตราไฮมีนา (Tetrahymena sp.) ที่พบในปลาหางนกยูง
- Details
- Hits: 3344
บทคัดย่อ
นำเตตราไฮมีนาที่แยกได้จากปลาหางนกยูงที่เป็นโรคตัวเปื่อยมาศึกษาเพื่อจัดจำแนกชนิดทางอนุกรมวิธาน โดยศึกษาลักษณะสันฐานวิทยา จากตัวอย่างสด และย้อมสี ตรวจดูลักษณะเซลล์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Light microscopy, LM) และนำเซลล์มาผ่านการเตรียมตัวอย่างเซลล์เพื่อศึกษารายละเอียดลักษณะรูปร่างให้ชัดเจนมากขึ้นด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด (scanning electron microscopy, SEM)
ปรสิตในปลากะรังจุดส้ม (Epinephelus coioides) ที่เลี้ยงในกระชัง
- Details
- Hits: 2317
บทคัดย่อ
ทำการศึกษาปรสิตในปลากะรังจุดส้ม orange-spotted grouper (Epinephelus coioides) ที่เลี้ยงในกระชัง จังหวัดกระบี่ ทำการศึกษาจากตัวอย่างปลาขนาด 4 - 5 นิ้ว ก่อนปล่อยลงกระชังและเลี้ยงต่อไปจนถึง 10 เดือน เก็บตัวอย่างปลาเดือนละ 2 ครั้ง ๆ ละ 10 ตัวเป็นระยะเวลา 10 เดือน พบปรสิตภายนอกและภายในจำนวน 5 กลุ่ม ดังนี้ คือ
ลักษณะและคุณสมบัติของเซลล์ไลน์จากจระเข้
- Details
- Hits: 2079
บทคัดย่อ
ทำการแยกและเลี้ยงเซลล์จากตัวอ่อนของจระเข้ระยะที่ยังอยู่ในไข่ พบว่าเซลล์เจริญได้ดีในอาหาร Leibovitz-15 ที่มีซีรั่ม 10-15% และสามารถทำ subculture ได้ 154 passage อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญของเซลล์คือ 25o - 30o ซ เซลล์นี้ได้ตั้งชื่อว่า SCE (Siamese crocodile embryo) เป็นเซลล์ชนิด epithelium ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือไมโครพลาสมา เซลล์ SCE สามารถเก็บรักษาในสภาพแช่เยือกแข็งในถังไนโตรเจนเหลว (-190o ซ) เซลล์ SCE สามารถมีชีวิตอยู่และคงสภาพของ monolayer ได้นานกว่า 3 สัปดาห์ ที่อุณหภูมิ 27o ซ โดยไม่ต้องเปลี่ยนอาหารเลี้ยงเซลล์ เซลล์ SCE ยอมรับการติดเชื้อไวรัสและเกิดมีการเปลี่ยนแปลง cytopathic effect (CPE) จากเชื้อไวรัสดังต่อไปนี้ เชื้อแรบโดไวรัสที่แยกได้จากปลาป่วยเป็นโรคระบาด หรือ EUS เชื้ออิริโดไวรัสที่แยกได้จากกบและปลาบู่ และเชื้อ channel catfish virus (CCV) เซลล์ SCE ถึงแม้ว่าจะพัฒนามาจากจระเข้ แต่สามารถที่จะนำมาใช้เพาะเชื้อไวรัสที่ก่อโรคในปลา และกบได้ดี
สภาวะสัตว์น้ำรอบทะเลสาบสงขลา เดือนกันยายน 2559
- Details
- Hits: 1588
และแล้วก็ถึงสิ้นปี (งบประมาณข้าราชการ) จนได้ แต่ไม่ว่าจะสิ้นปีหรือสิ้นเดือน สำหรับบางคนก็เหมือนจะสิ้นใจอยู่วันยังค่ำ ไล่มาตั้งแต่ชะอวดช่วงนี้ทั้งเงียบทั้งเหงา แม่ค้านั่งหาวนอน แถวนี้เค้าถึงฟ้าถึงฝนกัน สัตว์น้ำจึงไม่ค่อยมี ที่จับได้เยอะก็เห็นจะมีแต่ปลาช่อน ส่วนแถวคูเต่าช่วงเดือนนี้ก็ดูจะเป็นปูดำที่ค่อนข้างหนาตา หันไปทางไหนก็ชูก้ามหราเต็มไปหมด
จำหน่ายลูกพันธุ์สัตว์น้ำ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 6 สงขลา
- Details
- Hits: 36044
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 6 (สงขลา) มีพันธุ์สัตว์น้ำจำหน่าย คือ ลูกปลากะพงขาว ลูกปลตะกรับ ลูกกุ้งทะเล และลูกกุ้งก้ามกราม หากท่านผู้ใดมีความประสงค์จะซื้อพันธ์ุสัตว์น้ำดังกล่าว ขอให้ติดต่อสั่งจองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 6 (สงขลา) เลขที่ 1/19 หมู่ที่ 3 ถนนเก้าแสน ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
บรรยากาศการปล่อยกุ้งก้ามกรามจำนวณหนึ่งล้านตัว
- Details
- Hits: 97754
บรรยากาศการปล่อยกุ้งก้ามกรามจำนวณหนึ่งล้านตัว วันที่ 27 ก.ย 2559 สถานที่ ม.11 ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง อีกสถานที่หนึ่งในวันเดียวกันคือ ม.4 ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง ปล่อยหนึ่งล้านตัวเช่นกัน..ครับ
Webmaster Talk 21 ก.ย. 59
- Details
- Hits: 96653
สวัสดีค่ะ ข่าวฉบับที่ 6 สุดท้าย ท้ายสุดของปีงบประมาณ 2559 เวลาช่างผ่านไปรวดเร็วซะเหลือเกินโดยเฉพาะการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการฟื้นฟูทรัพยากรประมงในทะเลสาบสงขลา แต่ก็หวังว่าปีหน้ายังได้พบกันอีก ตามภารกิจที่อาจจะยังคงเดิม แต่งบประมาณยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามากน้อยแค่ไหน ลุ้นกันอยู่ แต่ในส่วนบทบาทของกลุ่มสภาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ต่างก็เข้มแข็งประสานกลุ่มกิจกรรมและองค์กร ระดมความคิดเพื่อจัดทำนโยบายรองรับการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ปล่อยพันธุ์ปูม้า เนื่องในวันประมงแห่งชาติ 21 ก.ย. 59
- Details
- Hits: 97917
กิจกรรมเนื่องในวันประมงแห่งชาติ วันที่ 21 กันยายน 2559 สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง สงขลา ร่วมด้วยพนักงานและข้าราชการร่วมกันปล่อยพันธุ์ปูม้า จำนวน 1 ล้านตัว ณ บริเวณชายหาดหน้าสถาบันฯ เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรและเพื่อการเพิ่มจำนวนของปูม้าในทะเลอ่าวไทยจังหวัดสงขลา และเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชาวประมงโดยรอบ ทั้งนี้ปูม้าที่ปล่อยลงสู่ทะเลในวันนี้นั้นได้รับการสนับสนุนจาก แพ ป.ทรัพอนัน ขอขอบคุณสำหรับการสนับสนุนพันธุ์ปูม้า มา ณ ที่นี้ด้วย
ปลาออสการ์ น่ารักน่าเลี้ยง โดยนางสาวเจษฎาภรณ์ อินทรัตน์
- Details
- Hits: 8335
เมื่อกล่าวถึงปลาออสการ์ หลายๆคนคงเคยได้ยินชื่อเสียงกันมาบ้างแล้ว บางคนอาจรู้จักปลาชนิดนี้เป็นอย่างดี หรือบางคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อและไม่เคยรู้จักเลยด้วยซ้ำ วันนี้ดิฉันจะพาผู้อ่านมาทำความรู้จักกับปลาออสการ์กันนะคะ ว่ามีความน่าสนใจอย่างไร