ประวัติความเป็นมาของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเขต 6 สงขลา
ปี พ.ศ. 2507
- สำนักงานอยู่ที่ถนนวิเชียรชม เทศบาลเมืองสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ต่อมากรมประมงได้อนุมัติงบประมาณสร้างสถานีย่อย เพื่อปฏิบัติงานด้านวิจัย และทดลองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ปี พ.ศ. 2510
- ตั้งหน่วยทดลองเพาะเลี้ยงปลาน้ำกร่อยที่บ้านบ่อเก๋ง ต.หัวเขา อ.เมือง จ.สงขลา มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่
ปี พ.ศ. 2512
- ตั้งหน่วยงานปฏิบัติการทดลองและสาธิตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อยที่บ้านท่าสะอ้าน ต.พะวง อ.เมือง จ.สงขลา มีเนี้อที่ประมาณ 137 ไร่
ปี พ.ศ. 2516
- ตั้งหน่วยทดลองเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่บ้านเก้าเส้ง ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ (เป็นที่ตั้งสถาบันฯในปัจจุบัน) จากสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของบ้านเมืองทำให้สัตว์น้ำในธรรมชาติลดลง กรมประมงจึงกำหนดนโยบายเพิ่มพูนปริมาณสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงให้มากขึ้นและจัดทำโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งของประเทศในปี พ.ศ. 2522
ปี พ.ศ. 2522
- เสนอโครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ผ่านกรมวิเทศสหการเพื่อขอความช่วยเหลือโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ ต่อมารัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติงบประมาณ 800 ล้านเยน ( 80 ล้านบาท ในปี 2522 ) แก่รัฐบาลไทยแบบให้เปล่าเพื่อก่อสร้างศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์
ปี พ.ศ. 2523
- เริ่มก่อสร้างเดือนมกราคม 2533 ณ หน่วยเพาะพันธุ์สัตว์น้ำบ้านเก้าเส้ง ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา แล้วเสร็จในวันที่ 15 ก.พ. 2524 ใช้ชื่อว่า "สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งแห่งชาติ" เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2524 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด
ปี พ.ศ. 2533
- สถาบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง" ตามกรอบอัตรากำลัง 3 ปี (พ.ศ. 2533 - 3535) ของกรมประมงที่จัดทำขึ้น โดยได้รับความเห็นชอบจาก กพ.
ปี พ.ศ. 2538
- สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้รับคัดเลือกจาก JICA เป็นโครงการดีเด่น ในภาคเอเชียอาคเนย์ที่ได้รับความสำเร็จตามเป้าหมาย
ปี พ.ศ. 2545
- ฯพณฯ พตท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้มาเยี่ยมดูงานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ของสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ในวันที่ 31 ส.ค. 2545 ในโอกาสที่มาประชุม เพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทะเลสาบสงขลา จ.สงขลา
ปี พ.ศ. 2546
- สถาบันวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้ถูกปรับโครงสร้าง ตามแนวนโยบายการปฏิรูประบบราชการ โดยแบ่งเป็นงานธุรการ และ 3 กลุ่มงานวิจัย ดังนี้
1. กลุ่มงานวิจัยการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่ง
2. กลุ่มงานวิจัยการเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
3. กลุ่มงานวิจัยระบบและการจัดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ปี พ.ศ. 2560
- เปลี่ยนชื่อจากเดิม สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง สงขลา เป็น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 6 สงขลา