สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมของทะเลสาบสงขลาตอนนอก จังหวัดสงขลา บริเวณตำบลชิงโค หัวเขาหัวเขา ตำบลสทิงหม้อ ตำบลเกาะยอ และตำบลปากรอ จำนวน 15 สถานี ดังรูปที่ 1และตารางที่ 1 เป็นประจำทุกเดือน เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และประเมินแนวโน้มของสถานะคุณภาพน้ำ ซึ่งได้ดาเนินการติดตามตรวจวัดปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1
คุณภาพน้ำพื้นฐานได้แก่ ความเค็ม อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง ความโปร่งใส ความลึก และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 2) ปริมาณไนโตรเจนที่อยู่ในรูปของ แอมโมเนีย ไนไตรท์ 3) ปริมาณบีโอดี (ความสกปรกของน้ำในรูปปริมาณอินทรีย์)
ตารางที่ 1 รายละเอียดสถานีตรวจวัดและคุณภาพน้ำ บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนนอก จังหวัดสงขลา
รูปที่ 2 สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำบริเวณ ตำบลชิงโค (ก) และตำบลหัวเขา (ข)
ที่มา: https://www.google.co.th/maps/@7.2742012,100.3730162,46578m/data=!3m1!1e3!4m2!6m1!1sz4bd0tOTiMzE.kQ9JE8ht8cIg เข้าถึง 25 ส.ค. 59
ทะเลสาบสงขลามีความสำคัญกับวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่รอบๆ ทะเลสาบ เป็นแหล่งสร้างงานสร้างรายได้มาเป็นเวลาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงปลาในกระชังบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนนอกซึ่งพบว่ามีการเลี้ยงปลากะพงขาวอย่างหนาแน่นบริเวณ ในหลายตำบลดังกล่าวข้างต้น โดยคุณภาพน้ำบริเวณ ต.ชิงโค (รูปที่ 2-ก) ประกอบด้วยสถานี S1,S2 และ S3 มีความเค็ม (Sal) อยู่ที่ 33 ppt ออกซิเจนละลาย (DO) มีค่าเฉลี่ย 6.3 mg/L pH มีค่า 8.0 แอมโมเนียทั้งหมด (TAN) ในทุกสถานีมีค่าไม่เกิน 0.1 mg/L บีโอดีมีค่าเฉลี่ย 1.1 mg/L ขณะที่บริเวณตำบลหัวเขา (รูปที่ 2-ข) สถานี S4 และ S5 มีความเค็มเฉลี่ย 33.4 ppt ออกซิเจนละลาย มีค่า 7.03 mg/L pH มีค่า 8.08 แอมโมเนียทั้งหมด (TAN) ค่าเฉลี่ย 0.012 mg/L ส่วนบีโอดีมีค่าเฉลี่ย 1.5 mg/L
รูปที่ 3 กระชังเลี้ยงปลากะพงขาว บริเวณตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
รูปที่ 4 สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำบริเวณ ม.1 และ ม.2 (ก) ม.4 ม.7 และ ม. 9 (ข) ตำบลเกาะยอ
ที่มา: https://www.google.co.th/maps/@7.2742012,100.3730162,46578m/data=!3m1!1e3!4m2!6m1!1sz4bd0tOTiMzE.kQ9JE8ht8cIg เข้าถึง 25 ส.ค. 59
ขณะที่ ต.เกาะยอ (รูปที่ 4) ประกอบด้วยสถานี S6, S7, S8, S9, และ S10 มีค่าความเค็มเฉลี่ย 33.3 ppt ออกซิเจนละลาย 7.1 mg/L pH มีค่า 8.12 บีโอดีมีค่าเฉลี่ย 1.4 mg/L ขณะที่ แอมโมเนียทั้งหมดมีค่าน้อยมากเฉลี่ยประมาณ 0.02 mg/L
รูปที่ 5 สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำบริเวณ ตำบลสทิ้งหม้อ (ก) และตำบลปากรอ (ข)
ที่มา: https://www.google.co.th/maps/@7.2742012,100.3730162,46578m/data=!3m1!1e3!4m2!6m1!1sz4bd0tOTiMzE.kQ9JE8ht8cIg เข้าถึง 25 ส.ค. 59
คุณภาพน้ำฝั่ง ต.สทิ้งหม้อ (รูปที่ 5-ก) สถานี S12 และ S13 มีค่าความเค็มเฉลี่ย 33 ppt ออกซิเจนละลายเฉลี่ย 7.4 mg/L pH มีค่าเฉลี่ย 7.9 บีโอดีมีค่าเฉลี่ย 3.3 mg/L ขณะที่ ต.ปากรอ (รูปที่ 5-ข) สถานี S14 และ S15 ค่าความเค็มเฉลี่ยลดลงเหลือ 24.4 ppt ออกซิเจน ละลายเฉลี่ย 7.0 mg/L pH มีค่าลดลงเฉลี่ย 7.0 บีโอดีมีค่าเฉลี่ย 1.0 mg/L ส่วนแอมโมเนียทั้งหมดตรวจในทุกๆ สถานี มีค่าไม่เกิน 0.2 mg/L
จะเห็นได้ว่าคุณภาพน้ำทะเลทุกพารามิเตอรที่ได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบของเดือน สิงหาคม 2559 ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีและเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอย่างดี แต่ทางสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งก็ยังคงต้องตรวจติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพราะสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คุณภาพน้ำในเดือนต่อไปจะเป็นอย่างไรนั้น กระผมจะนำมารายงานให้ทราบอีกครั้งครับ
20 ก.ย. 59