มีปลาน้ำจืดของไทยอยู่หลายชนิด ที่เชื่อว่าท่านผู้อ่านบางท่านได้รับประทาน หรือบางท่านอาจจะเลี้ยงอยู่แล้วในขณะนี้ ไม่ว่าจะป็นปลานิล ปลาสวาย ปลาดุก ปลาตะเพียน ฯลฯ ซึ่งปลาแต่ละชนิดย่อมมีรสชาติความอร่อยที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละท่าน มีปลาอยู่ชนิดหนึ่งค่ะที่อยากมานำเสนอในบทความฉบับนี้ รสชาติ นุ่ม อร่อย ทำได้หลากหลายเมนูของปลาชนิดนี้เลยค่ะ และที่สำคัญปลาชนิดนี้กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก สดใสมาแรง ว่ากันอย่างนั้น ปลาชนิดนี้ คือ ปลากดเหลืองค่ะ
ปลากดเหลือง เปนปลานํ้าจืดพื้นบานที่ไมมีเกล็ดของไทย พบ แพรกระจายกวางขวางในแหลงนํ้าธรรมชาติ ตลอดจนอางเก็บนํ้าและเขื่อนตาง ๆ รวมทั้งบริเวณ ปากแมนํ้าที่เปนนํ้ากรอย ปจจุบันปลากดเหลืองเปนปลานํ้าจืดเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่เกษตรกรสนใจทํา การเพาะเลี้ยงเปนอาชีพ นิยมเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังและในบอดิน ปลากดเหลืองจัดวาเปนปลา ชั้นดีในทองตลาด จึงเปนที่ตองการของตลาดทั้งในประเทศและนอกประเทศ โดยเฉพาะประเทศมาเล เซีย และสิงคโปร ปลากดเหลืองจึงเปนปลาอีกชนิดหนึ่ง ที่คาดวาจะเปนปลาที่มีความสําคัญทาง เศรษฐกิจมากในอนาคตและมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชยตอไป
ปลากดเหลืองปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าHemibagrus filamentus อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagridae) มีรูปร่างคล้ายปลากดคัง (H. wyckioides) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างเล็กกว่า สีข้างลำตัวเป็นสีเหลือง รูปร่างค่อนข้างบึกบึน หัวแบนลง ท่อนหางสั้น ปากกว้าง หลังโค้งเล็กน้อย หนวดที่ริมปากยาวถึงโคนหาง ครีบหลังมีปลายซี่ก้านยื่นออกมาแยกเป็นเส้น ตัวสีเทา หรือเขียวอมเหลือง หลังเทาเข้ม ท้องขาวซีด ครีบไขมันสีเดียวกับลำตัวจึงเป็นที่ของชื่อ หรืออาจเป็นสีเทาคล้ำ สีท้องจาง ครีบหลังยาวจนถึงจุดเริ่มต้นของครีบไขมัน และครีบไขมันมีสีคล้ำ ขนาดโตเต็มที่ราว 50 เซนติเมตรเป็นปลาที่ใช้บริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และปลาแห้ง และมีการเพาะเลี้ยงในกระชังเหมือนปลากดคัง
นอกจากนี้แล้วยังมีปลากดในสกุลเดียวกันนี้ อีกชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกัน คือ ปลากดขาว (H. spilopterus) ซึ่งบางครั้งอาจสับสนกันและเรียกชื่อสามัญตรงกันว่า "ปลากดเหลือง" ด้วย ปลากดเหลืองสามารถเจริญเติบโต และอาศัยอยูไดในสภาพแวดลอมที่หลากหลาย เปนปลาที่ ชอบอาศัยอยูตามพื้นทองนํ้าที่เปนแองหินหรือเปนพื้นดินแข็ง นํ้าคอนขางใส และมีกระแสนํ้าไหลเชี่ยวไม แรงนักพบอยูในระดับความลึกตั้งแต 2-40 เมตร อีกทั้งชอบอาศัยหาอาหารบริเวณที่นํ้าจากตนนํ้า เหนือเขื่อนหรืออางเก็บนํ้าไหลมาบรรจบกับบริเวณแนวนํ้านิ่ง โดยเฉพาะบริเวณปากแมนํ้า ซึ่งมีนํ้าจืด ไหลปะทะกับแนวนํ้าเค็มมีกุง ปลา ปูหอย คอนขางสมบูรณ ปลากดเหลืองจัดเป็นปลาประเภท ปลากินเนื้อ (Carnivorous Fish) หากินในเวลากลางคืนมี กระเพาะอาหารที่มีลักษณะเป็นถุงตรงยาว ผนังหนาสีขาวขุ่น นิสัยการกินอาหารในธรรมชาติ ได้แก่ ปลา ขนาดเล็ก ตัวอ่อนแมลงหรือแมลงในน้ำ กุ้งน้ำจืด เศษพันธุ์ไม้น้ำและหอยฝาเดียว การแพร่กระจายทะเลน้อย ทะเลสาบตอนบน ทะเลสาบตอนกลาง และลำคลองต่างๆ ที่ไหลลงสู่ทะเลน้อย ทะเลสาบตอนบน และทะเลสาบตอนกลาง
อ่านบทความฉบับนี้จบแล้วอย่ารอช้านะค่ะ ตลาดไหนที่อยู่ใกล้ๆ ไปเลือกซื้อ เลือกหา ปลากดเหลืองมาแกงส้มสักมื้อ ขอรับรองว่า รสชาติความอร่อยของปลาชนิดนี้ที่ท่านต้องติดใจโดยไม่รู้ลืมและหากท่านใดไม่ชอบแกงส้ม แต่อยากที่จะลี้ยงปลากดเหลืองเชิงพานิชย์ เพราะดูแล้วเห็นว่าอนาคตเลี้ยงปลาชนิดนี้แล้วสดใสแน่ๆ ก็สามารถติดต่อสอบถามมาได้ที่กรมประมงของเราได้เลยค่ะ ที่หน่วยงาน ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด สงขลา ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา กรมประมงของเรายินดีที่จะบริการในทุกรูปแบบ เพื่อความกินดีอยู่ดีของพี่น้องเกษตรกร.....นึกถึง กรมประมงค่ะ